วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

มาดามมด


ประวัติฉบับย่อๆของมาดามมด
มด หรือ ที่เพื่อนๆ Sanook! Campus รู้จักกันในนาม มาดามมด จบการศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หลังจากนั้นพี่แกก็สอบเอ็นทรานซ์เข้าศึกษาต่อที่คณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากศึกษาเล่าเรียนจนจบ มาดามมดก็เริ่มทำงานจริงจังกับการเป็นคุณครูสอนการแสดงเด็กๆ (เพราะมาดามมดตกหลุมรักศาสตร์ของการแสดงมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว) แต่ทำได้สักพัก แกก็เปลี่ยนงานจากคุณครูสอนการแสดงมาเป็นคุณครู(วิชาการ)แบบเต็มตัว โดยมาดามมดสอนวิชาสอนวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษในระดับประถมถึงมัธยมปลาย
แต่แล้วชีวิตของมามาดมด ก็มาถึงจุดเปลี่ยนเมื่อมาดามมดเลือกที่จะลาอออกจากการเป็นครู ส่วนสาเหตุก็เพราะลึกๆแล้วมาดามมดคิดว่าอาชีพครู เป็นอาชีพที่ดีมากและการเป็นคุณครูที่ดีก็เป็นเรื่องที่ยากมากๆเช่นเดียวกัน (มาดามมดคิดว่าตัวเองยังดีไม่พอที่จะเป็นครูประมาณนี้)
รายการภาษา Plaza
รายการ ภาษา Plaza เป็นรายการที่จะนำเสนอคำศัพท์มาแรงของวัยรุ่น พร้อมคำอธิบายในสไตล์ไม่ซ้ำใครรายการนี้มีสโลแกนโดนๆที่ว่า แหล่งรวมความบันเทิงทางภาษา ที่จะพาทุกคนไปซ่ากับภาษาให้ฮากระจาย จุดเริ่มต้นที่ได้เข้ามาทำงานในส่วนนี้มาดามมดเล่าว่า เนื่องจากช่อง Play Channel มีความคิดว่าอยากทำรายการ เกี่ยวกับสอนภาษา ด้วยความที่มาดามมดชอบภาษาและใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ ทาง Play Channel เลยเห็นว่ามาดามมดเหมาะที่จะมาทำหน้าที่พิธีกรของรายการ ช่วงแรกถ้าใครได้ชมรายการภาษา Plaza จะทราบว่ามาดามมดไม่ได้ฮาและกล้าแสดงออกขนาดนี้ แต่เมื่อออกอากาศก็เริ่มมีการปรับรูปแบบโดยใส่ความเป็นตัวเองเข้าไปมากขึ้นเน้นความบันเทิงผสมสาระ จึงทำให้มีรูปแบบอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
ปล.จริงๆแล้วมาดามมดไม่ได้ กระโหลก กะลา ปลากระป๋อง ตลกไปวันๆอย่างที่หลายคนคิดนะ เพราะมาดามมดเป็นเด็กเรียนตั้งแต่สมัยเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแล้ว พอเข้าศึกษาต่อที่จุฬาฯแกก็เป็นเด็กกิจกรรมตัวยงเลย ไม่แปลกใจเลยที่ตอนนี้ใครๆ ก็ชื่นชอบ มาดามมด ก็ต้องบอกว่ามาดามมดคนนี้ เป๊ะอ่ะ -*-

...สวัสดีค่ะ พบกับดิฉัน “มาดามมด” และ “ภาษาพลาซ่า” (ส่ายหน้าอก 2-3 ทีตามคอนเซ็ปต์) แหล่งรวมความบันเทิงทางภาษา ที่จะพาคุณไปซ่ากับภาษาให้ฮากระจาย (หัวเราะคิกๆ) วันนี้ขอเสนอคำว่า “มา-ดาม-มด”... อ้ะ! งงๆ (ชี้หน้าส่งสายตาหยอกเย้า) แต่อย่าเพิ่งเอ๋อเหรอกันไป เพราะช่วงเวลาต่อจากนี้ คุณจะได้รู้จักตัวจริงของผู้หญิงที่แปลกที่สุดในวงการกันแล้วค่ะ (ดนตรีโหมโรงพร้อมเสียงปรบมือเกรียวกราว)...
       
       ถ้าเคยคลิกดูผลงานของเธอ อย่างน้อยๆ สักตอน 2 ตอนทางช่องเพลย์แชนเนล คุณจะยิ้มไปกับย่อหน้าข้างบนได้อย่างอัตโนมัติ เพราะนึกภาพออกว่าบุคลิกของคนพูดจะแปลก ฮา แต่ “น่าร็อกอะ” ขนาดไหน เธอคือคนที่ทำให้ถ้อยคำธรรมดาๆ จากปากใครต่อใคร กลายเป็นคำฮิตติดหูได้ด้วยโทนเสียงขึ้นๆ ลงๆ แบบมีสไตล์ ท่าประกอบสุดพิสดารเกินคำบรรยาย รวมถึงมัดกล้ามเนื้อบนใบหน้าซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ ออกมาได้อย่างสุดซึ้ง จนต้องทึ่งว่า นี่คือมนุษย์จริงหรือ? 
       และแน่นอนว่าคำตอบคือเธอเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งมีความเป็นมนุษย์ในมุมที่น่าสนใจยิ่งกว่ามนุษย์ทั่วๆ ไปเสียอีก
       


       
       เมื่อ “มาดาม” คุยกับ “มด”
       ก่อนอื่นต้องแยกให้ออกว่า “มาดามมด” กับ “มด” คือคนละคนกัน ถึงแม้จะแชร์พื้นที่กายอยู่ในร่างของคนคนเดียว แต่นิสัยจริงๆ กลับต่างกันคนละขั้ว “แทบจะเรียกว่าเป็นคนละคนกันเลย ถ้าถามว่าตอนนี้กำลังนั่งคุยกับใครอยู่ ก็ต้องบอกว่าเป็น “มด” นะ ไม่ใช่ “มาดามมด” เอ...นี่อยากจะคุยกับมาดามมดหรือเปล่า?” สาวแกร่งกะพริบแพขนตาอันหนักอึ้งของเธออย่างช้าๆ ก่อนหันมาขอคำตอบที่ชัดเจนจากคู่สนทนาอีกครั้งด้วยรอยยิ้มบางๆ เมื่อพบว่าอีกฝ่ายต้องการรู้จักคนหลังกล้องมากกว่าตัวตนเบื้องหน้า เธอจึงเริ่มวิเคราะห์ความแตกต่างให้ฟังอย่างละเอียด
        
       
       “ถ้าให้มดพูดถึงมาดามมด มดชื่นชมตัวเขานะ เพราะเขาเป็นคนสดใสร่าเริง เป็นคนน่ารัก แต่ตัวมดเอง ตัวจริงของเราจะค่อนข้างขัดแย้งกับมาดามมด เพราะเราเป็นคนเรียบร้อย ไม่ค่อยพูด แล้วก็ไม่ค่อยยิ้มแย้มด้วย จะชอบนั่งเฉยๆ เงียบๆ คือมดเองก็เป็นคนมีอารมณ์ขันอยู่ข้างในนะ แต่แค่เป็นคนขี้อาย” สรรพคุณที่บรรยายมาทั้งหมด ทำเอาคนฟังแทบขำกลิ้ง นึกว่าถูกหยอดมุก ที่ไหนได้เธอเป็นแบบนั้นจริงๆ
        
       
       “ถามว่าสิ่งที่ทำอยู่ทุกวันนี้มันแปลกไหม ก็ถือว่าแปลกนะ (หัวเราะเบาๆ) ตอนที่เราเป็นมดแล้วมองดูมาดามมด ยังรู้สึกทึ่งเลยว่าเขาทำได้ยังไง คือเขาเป็นคนน่ารักแต่แปลกมาก แปลกตั้งแต่การแต่งตัว การพูดจา การวางตัว จะบอกว่ามาดามมดคือรูปแบบของการเสแสร้งหรือเป็นการแสดงก็ไม่ใช่นะ เขาเหมือนตัวตนอีกด้านหนึ่งในโลกจินตนาการของเรามากกว่า พอนับ 5-4-3-2 ปุ๊บ เราก็พร้อมจะเปลี่ยนเป็นมาดามมดทันที แต่พอสั่งคัต กลับมาเป็นมด บางครั้งก็แอบรู้สึกอายๆ เหมือนกัน คือเราไม่ได้อายเพราะคิดว่าทำสิ่งที่แย่ลงไป แต่เป็นเพราะพื้นฐานเราเป็นคนขี้อายอยู่แล้ว” 
        
       คนส่วนใหญ่ที่ไม่เคยพบหน้าพูดคุยกันจริงๆ จังๆ มักจะเอาตัวตนของ “มาดามมด” มาปะปนกับ “มด” และเข้าหาเธอด้วยวิธีตลกโปกฮาตลอดเวลา ซึ่งตัวมดเองก็เข้าใจดี เนื่องจากรายการส่วนใหญ่ที่เชิญเธอไปเป็นแขก นิยมให้นำเสนอตัวตนในเวอร์ชั่นมาดามมากกว่าจึงมีโอกาสเพียงน้อยนิดเหลือเกินที่จะได้สัมผัสตัวตนจริงๆ ของ “มด” บัณฑิตคณะนิเทศศาสตร์ เอกวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนนี้
       
       

       The Amazing Mod! 
       ทำรายการมาได้ปีกว่าๆ ผลิตคลิปฮาๆ ออกมาได้เป็นร้อยๆ แถมแต่ละคลิปล้วนมียอดวิวสูงถึงหลักแสนเฉียดล้านทั้งนั้น ด้วยความนิยมอันล้นหลามจึงสร้างโอกาสให้ “ภาษาพลาซ่า” ขยายสเกลเป็นรายการ “The Amazing Mod” โดยเพิ่มช่วง “Mod's Diary” ตามติดชีวิตเบาๆ ของเธอ และ “มาดามมด เธียเตอร์” ให้แฟนๆ ได้เสพความฮาผ่านบทบาทการแสดงกันอย่างเต็มอิ่ม โปรเจกต์เยอะขนาดนี้ พูดได้เต็มปากว่าไม่มีใครไม่รู้จักมดแน่ๆ นอกเสียจากคนคนนั้นจะเปิดคอมพ์ไม่ได้ เล่นอินเทอร์เน็ตไม่เป็น 
        
       
       ว่าแล้วจึงลองให้เจ้าตัววัดความดังของตัวเองกันบ้าง คนถูกถามถึงกับร้อง “โอ้โห!” ด้วยสีหน้าเอียงอาย นิ่งคิดนิดหนึ่งแล้วสวมวิญญาณตอบตามสไตล์มาดามว่า “ถ้าให้ตอบแบบดารา ก็คงไม่ขนาดนั้นหรอกเค่อะ (ทำเสียงแอ๊บแบ๊ว)” เชื่อแล้วว่าเธอเกิดมาเพื่อเอนเตอร์เทนจริงๆ หลังจากปล่อยให้เสียงหัวเราะในวงสนทนาสิ้นสุดลง มดจึงเริ่มเข้าสู่โหมดจริงจัง
        
       
       “อาจจะเป็นเพราะตัวคอนเทนต์มันโดนใจวัยรุ่นด้วยแหละ แล้วก็ได้โซเชียลเน็ตเวิร์กมาทำให้รายการกระจายไปเร็วมาก ถือเป็นข้อดีมากๆ ของสังคมแห่งการแชร์ทุกวันนี้ แต่จะว่าไปมันก็ขึ้นอยู่กับว่าเรานำเสนอเรื่องอะไรด้วย ถ้าเป็นเรื่องดีๆ แล้วถูกแชร์กันไปในวงกว้าง มันก็ดีไป แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่ดี มันก็ไปได้เร็วเหมือนกัน สำหรับมดแล้ว คิดว่าถ้าเรามีความคิดสร้างสรรค์ ตั้งใจดีที่จะนำเสนอเรื่องดีๆ ต่อสังคมแล้วมันประสบความสำเร็จ ก็ถือว่าเป็นช่องทางที่ดีมากๆ เลย
        
       
       “ในตอนแรกที่รวมตัวกันทำรายการกับเพื่อนๆ เราไม่เคยมองเรื่องของปลายทาง เรื่องความโด่งดังหรือชื่อเสียงเลย อันนี้ไม่ได้ตอบแบบสร้างภาพนะ แต่ทุกครั้งที่ลงมือทำอะไร เราจะทำอย่างเต็มที่ ทำให้ดีที่สุด ถามว่าคิดไหมว่าจะเป็นที่รู้จักขนาดนี้... ไม่เลย ตอนนั้นคิดแค่ว่าจะทำรายการออกมายังไงให้ดูเป็นตัวเรามากที่สุด แล้วเราก็ไม่ได้คิดว่าความคิดของเราฉีกไปกว่าใคร แค่เลือกทำในสิ่งที่ถนัด สิ่งที่เราชอบ รู้ว่าตัวเองชอบด้านภาษา แล้วก็มีชีวิตคลุกคลีกับวัยรุ่นมาเยอะ รู้ว่ามันมีมุมไหนบ้างที่ดูมีสีสัน ลองหยิบสิ่งใกล้ตัวจากประสบการณ์ชีวิตของเรามาทำ มันก็เลยออกมาเป็นแบบนี้” มดส่งรอยยิ้มหวานๆ แทนเครื่องหมายปิดประโยค
        
       
       นึกภาพไม่ออกเลยว่าถ้ารายการของเธอไม่ได้พื้นที่บนทีวีออนไลน์ แต่มาอยู่ในฟรีทีวีแทน มาดามมดที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้จะหน้าตาเป็นแบบไหน จะยังเรียกเสียงฮาด้วยหน้าตาท่าทางแปลกๆ แบบนี้ได้อีกหรือเปล่า ไม่มีใครรู้ แต่ที่เธอรู้คือ “ความรับผิดชอบต่องานที่ทำ” คือข้อสำคัญที่สุดสำหรับคนทำสื่อ
        
       “ข้อดีของทีวีออนไลน์น่าจะเป็นความอิสระ มันมีกรอบน้อยกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทะลึ่งตึงตังหรือหยาบคายได้มากกว่านะ ในความรู้สึกมด แค่มองว่าอาจจะนำเสนอได้หลายรูปแบบมากกว่า เราเองก็พยายามสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้เต็มที่ที่สุด มากกว่าจะเน้นให้โด่งดัง คนอาจจะมองว่าเราพยายามแต่งตัวให้แปลก แต่งตัวให้แรง ให้คนสนใจ แต่จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายๆ เรื่องที่เราคิดและอยากจะสื่อ ไม่อยากให้มองแค่ว่ามาดามมดฮา อยากฮาแบบนี้ได้บ้าง อยากพูดตามหรือติดขนตาหนาๆ ตาม ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้คนที่ดูงานของเราได้อะไรกลับไปจริงๆ อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้เห็นกันในรายการก็ได้”
        
       “คนอาจจะมองเห็นเราว่าเป็นคนมอบความบันเทิง แต่เวลาเราไม่ได้อยู่หน้ากล้อง ไม่ได้ถ่ายรายการ แล้วมีโอกาสพูดคุยทำความรู้จักตัวตนจริงๆ กันแบบนี้ มดจะบอกเสมอว่าการได้มาอยู่ตรงนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้เราได้ทำอะไรหลายๆ อย่างเพื่อสังคมมากขึ้น ใจจริงแล้วอยากเห็นคนในสังคมมีธรรมะในใจกันเยอะๆ นะ แต่กว่าเราจะสื่อเรื่องนี้ออกไปได้ คิดว่าคงต้องใช้เวลาอยู่เหมือนกัน อย่างตัวมดเองทุกวันนี้อาจจะไม่ได้เข้าวัดบ่อยๆ แต่พูดได้เลยว่าเราปฏิบัติเป็นชีวิตประจำวัน คือหาเวลา “เจริญสติ” อยู่ตลอด จากแต่ก่อนที่เป็นคนเซนซิทีฟมากๆ อารมณ์ศิลปินจัด พอปฏิบัติแล้วก็ดีขึ้น ควบคุมความรู้สึกได้มากขึ้น อะไรปล่อยได้ก็ปล่อยไป ยึดไว้ทุกอย่างก็หนักเปล่าๆ” ได้รู้จักตัวตนของเธอในมุมนี้ ช่างเหมาะกับคำว่า Amazing จริงๆ
       
       

       
       เพศที่สาม+ความฮา = ไร้สาระ?
       หัวเราะหึหึ หัวเราะฮ่าฮ่า ไปจนถึงขั้นฮาน้ำตาเล็ดน้ำตาร่วง ทั้งหมดคืออาการระหว่างดูรายการของมาดามมดทั้งสิ้น ถ้าลองหยิบเทปปัจจุบันไปเทียบกับฉบับแรกๆ จะพบว่ายุคหลังๆ ไม่เน้นเรื่องสาระน่ารู้มากนัก แต่หนักไปทางฮากระจายเสียมากกว่า จนแฟนรายการหลายรายเริ่มตั้งคำถามว่าตกลงแล้วจะเน้นขายหัวเราะ เรียกเสียงฮาอย่างเดียวใช่หรือไม่ หนักข้อหน่อยก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ไร้สาระ” เกี่ยวกับเรื่องนี้ มดในฐานะพิธีกรและหนึ่งในคนคิดคอนเทนต์ได้แต่ยิ้มบางๆ แล้วให้คำตอบอย่างนอบน้อมและใจเย็น
        
       
       “หลายคนจะชอบคิดว่ารายการของเราเป็นรายการสอนภาษา ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ใช่เลยนะ เพราะคอนเซ็ปต์ของรายการคือแหล่งรวมความบันเทิงทางภาษา ฉะนั้นสิ่งที่เราอยากมอบให้คนดูเป็นอย่างแรกเลยคือความบันเทิง ถ้าดูแล้วมีเสียงหัวเราะหรือรอยยิ้ม แสดงว่ามาถูกทางแล้ว เราไม่ได้คาดหวังว่าคนดูจะต้องได้รับสาระหนักๆ อะไรจากการดูรายการเรา แค่เขามีความสุขไปกับสิ่งที่เราเสนอไปให้ก็พอแล้ว เราก็รู้นะว่าวิธีนี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถาวรหรอก แค่ช่วยให้คนลืมความเครียดได้ชั่วครั้งชั่วคราว แต่อย่างน้อย ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เราก็สามารถทำให้สุขภาพจิตของเขาดีขึ้นได้บ้าง อาจจะช่วยให้อะไรดีๆ เกิดขึ้นก็ได้” 
       รอยยิ้มที่ฉายบนใบหน้าบวกกับคำตอบละมุนหูที่ได้ฟัง ทำให้มองเห็นเธอคนนี้เป็นนางฟ้าไปแล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง
        
       
       เหรียญมันมองได้สองด้าน ไม่ว่าจะด้านดีหรือไม่ดี หรืออาจจะมองว่าเฉยๆ อย่างมดเองก็เชื่อว่าทุกคนมีอิสระทางความคิด มันก็จริงว่ารายการที่เราทำอยู่ อาจจะไม่ได้ให้อะไรแก่สังคมมากไปกว่าความบันเทิง บางคนอาจจะได้แค่เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ กลับไป แต่อย่างน้อยๆ เราก็ไม่ได้ทำร้ายสังคม ถึงแม้บางครั้งจะนำเสนอบางเรื่องที่ดูไร้สาระ เสนอภาษาวิบัติจนเขามองกันว่ามันจะยิ่งวิบัติมากขึ้นไปอีกเพราะเราหรือเปล่า (หัวเราะ) แต่มดอยากให้มองเรื่องแบบนี้ในกรอบของคำว่า “กาลเทศะ” มากกว่า คือตัวเราเองไม่เคยต่อต้านพวกภาษาวิบัติที่เกิดขึ้นมาทั้งหมดในสังคม แต่ก็ไม่ได้ตั้งใจจะสนับสนุนให้ใช้กันมากขึ้นนะ ถ้าจะมีใครเอาศัพท์วัยรุ่นที่เรานำเสนอผ่านรายการไปใช้ ก็อยากให้ใช้ภายใต้คำว่ากาลเทศะ”
        
       
       เท่าที่พูดคุยกันมาได้พักใหญ่ๆ สามารถสัมผัสได้ไม่ยากว่ามดเป็นคนคิดบวกมากๆ คนหนึ่ง แต่ในสังคมที่เต็มไปด้วยผู้คนที่แตกต่างกันในรูปแบบต่างๆ ย่อมต้องมีกลุ่มคนที่คิดลบมากๆ อยู่เช่นเดียวกัน หลังจากเห็นบุคลิกตลกโปกฮาของเธอผ่านรายการยอดนิยมบนโลกออนไลน์ หนึ่งในนั้นอาจตีความไปแล้วว่ามัน “ไร้สาระ” เมื่อบวกกับความเป็นเพศที่สามที่มีอยู่ในตัวเธอคนนี้ด้วยแล้ว จึงอาจถูกนำมาเชื่อมโยงกัน จนนำไปสู่การมองอย่างเหมารวมว่า “เพศที่สามมักจะตลกโปกฮาและไร้สาระ” นั่นเอง และดูเหมือนว่ามดเองจะเคยชินกับการถูกตัดสินเช่นนี้แล้วเหมือนกัน
        
       
       เรื่องของ Stereotype หรือภาพจำของเพศที่สามที่คนทั่วๆ ไปมองตั้งแต่ไหนแต่ไร จะเป็นแนวตลกโปกฮาอยู่แล้ว แต่จริงๆ แล้วเพศที่สามก็เหมือนคนทั่วๆ ไป มีมุมอื่นๆ เหมือนๆ กัน ถ้าใครจะมองว่าเราเป็นเพศที่สามแล้วต้องตลกโปกฮา อยากให้เข้าใจว่าบุคลิกที่แสดงออกมามันคืออีกเรื่องหนึ่ง ส่วนเรื่องเพศมันก็คืออีกเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่ว่าเพศที่สามต้องตลกหรือดูไร้สาระตลอด อีกอย่างต้องถามว่าสังคมให้พื้นที่เราได้แสดงออกมุมอื่นๆ ให้เห็นมากแค่ไหน พอเห็นในละคร เห็นในรายการก็จะต้องตลกตลอดเวลา เลยกลายเป็นภาพจำของคนไปแล้ว ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้ตั้งใจจะเรียกร้องสิทธิ์อะไรนะ เพราะตัวมดเอง เราไม่ได้คิดอะไรมากอยู่แล้ว ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็แค่ตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานให้ดีที่สุด”
        
       
       ไม่มีแววขุ่นมัวในสีหน้า แววตา และน้ำเสียงของเธอแม้แต่นิดเดียว อาจเป็นเพราะมดค่อนข้างคุ้นชินกับการถูกเหยียดและล้อเรื่องเพศมาตั้งแต่ตอนเด็กๆ แล้ว จึงมีภูมิต้านทานในระดับดีมาก จนมองไม่เห็นสาระในเรื่องเหล่านี้
       
       “เราไม่ได้รู้สึกอะไรเลย จริงๆ นะ เป็นคนเข้าใจเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว อาจจะเป็นเพราะผ่านเรื่องแบบนี้มาเยอะตั้งแต่เด็กแล้วมั้ง (ยิ้มบางๆ) จนรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องปกติ สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์มันขึ้นอยู่กับตัวเรา ส่วนตัวมดเองก็ไม่เคยมองว่าใครแตกต่าง แต่ถ้าใครจะมองเราแบบนั้น ใครอยากจะแบ่งแยกคุณค่าความเป็นคนแบบนั้น ก็คงต้องปล่อยเขาไปแหละ ไม่เคยไปกำหนดว่าอยากให้ใครมองเราแบบไหน แล้วแต่เขาเลย แต่ถามว่าตัวเรามองตัวเองแบบไหน" 
       "เอาจริงๆ มดไม่เคยมองว่าเราเป็นเพศที่สามนะ ไม่ได้มองว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงด้วย ไม่ได้สนใจเรื่องนี้เลย ไม่มีคำจำกัดความอะไร รู้สึกว่าเราเป็นแค่คนธรรมดาคนหนึ่ง ” 
       

       
       
       
       ---ล้อมกรอบ---
       กว่าจะขึ้นแท่นเป็น “มาดาม” 
       ยังมีมุมลับๆ อีกมากมายที่หลายคนยังไม่รู้เกี่ยวกับมด เริ่มตั้งแต่เรื่อง “ชื่อ-นามสกุล” ที่เจ้าตัวไม่ยอมเปิดเผยกับสื่อไหน โดยเปิดใจว่าจริงๆ แล้วไม่มีอะไรมาก แค่อยากมีชื่อสวยๆ ที่ใช้เรียกในวงการให้เหมาะกับลุคมาดามมด ไม่อยากให้คนจำชื่อตามใบทะเบียนบ้านที่ฟังดูแมนเกินไป “เหตุผลเล็กๆ อีกมุมคือเราอยากให้ชีวิตส่วนตัวกับมาดามมดมันแยกกันชัดเจนด้วยค่ะ” 
        
       ส่วนข้อสงสัยที่ว่าเห็นทำตัวร่าเริงบนหน้าจอขนาดนี้ เคยเศร้ากับเขาบ้างหรือเปล่า? มดถึงกับพ่นหัวเราะออกมาแล้วตอบว่า “ก็ต้องมีสิ เราก็เป็นคนปกตินะ แต่ไม่ค่อยได้ร้องไห้เท่าไหร่หรอก เพราะไม่ใช่คนร้องไห้ง่ายๆ แต่ถ้าเป็นในอดีตก็อาจจะมีเรื่องความรักบ้าง ตามวัย” ว่าแล้วเธอก็เริ่มเท้าความสมัยหัวยังเกรียนให้ฟัง
        
       
       “ตอนเด็กๆ มันจะมีช่วงที่ไม่เข้าใจอยู่บ้าง รู้สึกเหมือนเราถูกปฏิบัติแตกต่างไป แต่โชคดีที่เรามีเพื่อนที่ดีและเราไม่ทิ้งการเรียน การที่เรามีหลักยึดในใจ รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ในเมื่อเป็นวัยเรียนต้องตั้งใจเรียน เพราะงั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราเลยไม่ไขว้เขวออกนอกลู่นอกทาง ไม่เคยทำให้ที่บ้านต้องหนักใจเรื่องการเรียนเลย ที่สำคัญครอบครัวของมดเข้าใจ ไม่เคยต่อต้านในสิ่งที่เราเป็น แล้วตัวเราเองก็เข้มแข็งด้วยเลยทำให้เราเป็นเรามาจนถึงวันนี้ได้”
        
       
       “จริงๆ แล้วตัวมดเองไม่ใช่คนฮานะ แต่เป็นคนมีโลกส่วนตัวสูง บอกได้เลยว่าที่มีมุมที่เป็นมาดามมดตอนนี้ เป็นเพราะเรามีโลกส่วนตัวสูง มีจินตนาการอยู่ในโลกของตัวเอง ชอบอยู่คนเดียว ไม่ก็คุยกับสิ่งที่เขาคุยกับเราไม่ได้ อย่างน้องหมาน้องแมวที่บ้าน เพราะฉะนั้นโลกของเราก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง พูดได้เลยว่ามาดามมดเป็นโลกที่สร้างขึ้นมาจากจินตนาการล้วนๆ จริงๆ” 
       
       ทุกวันนี้ มดยอมรับว่าทำรายการมาหลายเทป มุกเริ่มซ้ำ ไฟเริ่มมอดลง แต่ก็ยังพยายามเติมแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบข้างอยู่เสมอ ถ้าวันหนึ่งจะถึงเวลาที่ควรหยุด ก็คงต้องปล่อยมันไป “ไม่ว่าจะอาชีพไหน มันไม่มีอะไรที่คงทนถาวร มีขึ้นก็ต้องมีลง แต่สิ่งที่ยึดเราไว้คือความรักในสิ่งที่ทำและทำมันออกมาให้เต็มที่ที่สุด ตราบใดที่เรายังมีใจ มีไฟ เราก็ยังทำต่อไป แต่ถ้าวันหนึ่งหมดไฟแล้ว ก็คงไม่อยากจะยื้อไว้เหมือนกัน” 
       และถึงตอนนั้นหลายๆ คนต้องคิดถึงความน่ารักสดใสของ “มาดาม” ที่มีอยู่ในตัว “มด” แน่ๆ เลย
       
       ภาพโดย... พลภัทร วรรณดี
       ขอบคุณภาพจาก แฟนเพจ Madame Mod
       
       
       
       



อาเซียน


ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

Asean Economic Community-AEC
Asean Economic Community History
AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน
จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค.  2546  ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ
1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)
คำขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม
เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558
ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่  ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน
สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า
ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป


ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

Asean-AEC-flag
ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้


1.บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ข้อควรรู้
- ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ มีระยะเวลาอยู่ในบรูไนฯได้ 2 สัปดาห์
- ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลืองเพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
- การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
- การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
-จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
-สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง



2.กัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
ข้อควรรู้
- เมื่อเดินทางถึงท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ โดยกรอกแบบฟอร์ม Visa on Arrival พร้อมยื่นรูปถ่ายและค่าธรรมเนียม 20 ดอลลาร์สหรัฐ
- ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



3.อินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ข้อควรรู้
- ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ หรือรับประทานอาหารคนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
- ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
- การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
- บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



4.ลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
ข้อควรรู้
-ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
-ลาวขับรถทางขวา
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



5.มาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
ข้อควรรู้
-ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
-มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



6.พม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
ข้อควรรู้
-
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



7.ฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ข้อควรรู้
-การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



8.สิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ข้อควรรู้
- หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
-การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
-การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



9.เวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
ข้อควรรู้
- หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
- เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
- หากนำเงินตราต่างประเทศติดตัวเข้ามามากกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องแจ้งให้ศุลกากรเวียดนามทราบการนำเงินตราออกประเทศมากกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งชาติหรือธนาคารกลางในท้องถิ่นก่อน มิเช่นนั้นจะถูกยึดเงิน
- บทลงโทษของเวียดนามในคดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข้อควรรู้


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/what-national-in-aec#ixzz27vLgrkYa

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN CHARTER) หรือธรรมนูญอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้
ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน ครั้งที่ 13เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอาเซียนที่กำลังจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป

วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน
วัตถุประสงค์อของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิกาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization)
โครงสร้างและสาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน
กฏบัตรอาเชียน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 หมวด 55 ข้อ ได้แก่
หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน
หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฏหมายของอาเชียน
หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่
หมวดที่ 4 โครงสร้างองค์กรของอาเซียน
หมวดที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน
หมวดที่ 6 การคุ้มกันและเอกสิทธิ์
หมวดที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ
หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท
หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน
หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน
หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน
หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก
หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรม และผลักดันอาเซียนให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร มีข้อกำหนดใหม่ๆ ที่ช่วยปรับปรุงโครงสร้างการทำงานและกลไกต่างๆ ของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มความยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหา เช่น
1. กำหนดให้เพิ่มการประชุมสุดยอดอาเซียนจากเดิมปีละ 1 ครั้ง เป็นปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ผู้นำมีโอกาสหารือกันมากขึ้น พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงทางการเมืองที่จะผลักดันอาเซียนไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมในอนาคต
2. มีการตั้งคณะมนตรีประจำประชาคมอาเซียนตามเสาหลักทั้ง 3 ด้าน คือ การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
3. กำหนดให้ประเทศสมาชิกแต่งตั้งเอกอัคราชฑูตประจำอาเซียนไปประจำที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งไม่เพียงแต่จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจแนวแน่ของอาเซียนที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมประชุมและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก
4. หากประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้โดยหลักฉันทามติ ให้ใช้การตัดสินใจรูปแบบอื่นๆ ได้ตามที่ผู้นำกำหนด
5. เพิ่มความยืดหยุ่นในการตีความหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยมีข้อกำหนดว่าหากเกิดปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ส่วนร่วมของอาเซียน หรือเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเทศสมาชิกต้องหารือกันเพื่อแก้ปัญหา และกำหนดให้ประธานอาเซียนเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

กฎบัตรอาเซียนจะเสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมได้อย่างไร
กฎบัตรอาเซียนสร้างกลไกตรวจสอบและติดตามการดำเนินการตามความตกลงต่างๆ ของประเทศสมาชิกในหลากหลายรูปแบบ เช่น
1. ให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนดูแลการปฏิบัติตามพันธกรณีและคำตัดสินขององค์กรระงับข้อพิพาท
2. หากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิกสามารถใช้กลไกและขั้นตอนระงับข้อพิพาททั้งที่มีอยู่แล้ว และที่จะตั้งขึ้นใหม่เพื่อแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยสันติวิธี
3. หากมีการละเมิดพันธกรณีในกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง ผู้นำอาเซียนสามารถกำหนดมาตรการใดๆ ที่เหมาะสมว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีกฎบัตรอาเซียนช่วยให้อาเซียนเป็นประชาคมเพื่อประชาชนได้อย่างไรข้อบทต่างๆ ในกฎบัตรอาเซียนแสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังผลักดันองค์กรให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง จึงกำหนดให้การลดความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนาเป็นเป้าหมายหนึ่งของอาเซียนกฎบัตรอาเซียนเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในอาเซียนผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ของอาเซียนมากขึ้น ทั้งยังกำหนดให้มีความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐสภาของประเทศสมาชิกกำหนดให้มีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

ความสำคัญของกฎบัตรอาเซียนต่อประเทศไทย
กฎบัตรอาเซียน ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ ของประเทศสมาชิก ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมหลักประกันให้กับไทยว่า จะสามารถได้รับผลประโยชน์ตามที่ตกลงกันไว้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย นอกจากนี้ การปรับปรุงการดำเนินงานและโครงสร้างองค์กรของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการเสริมสร้างความร่วมมือในทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะเป็นฐานสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อความต้องการและผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก รวมทั้งยกสถานะและอำนาจต่อรอง และภาพลักษณ์ของประเทศสมาชิกในเวทีระหว่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเอื้อให้ไทยสามารถผลักดันและได้รับผลประโยชน์ด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น
- อาเซียนขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 60 ล้านคน เป็นประชาชนอาเซียนกว่า 550 ล้านคน ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย
นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นทั้งแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย และไทยได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่มีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งของประชาคม ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และบุคคล ระหว่างประเทศสมาชิกที่สะดวกขึ้น
- อาเซียนช่วยส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อเผชิญกับภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง เช่น SARs ไข้หวัดนก การค้ามนุษย์ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หมอกควัน ยาเสพติดปัญหาโลกร้อน และปัญหาความยากจน เป็นต้น
- อาเซียนจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของไทยในเวทีโลก และเป็นเวทีที่ไทยสามารถใช้ในการผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาของเพื่อนบ้านที่กระทบมาถึงไทยด้วย เช่น ปัญหาพม่า ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์พหุภาคีในกรอบอาเซียนจะเกื้อหนุนความสัมพันธ์ของไทยในกรอบทวิภาคี เช่น ความร่วมมือกับมาเลเซียในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ด้วย


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/asean-charter#ixzz27vMDg4VD

คู่มือ AEC จากภาครัฐ

- ถนนสู่ AEC เพื่อ SMEs ไทย      สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ฉบับเกษตรกร)    กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ฉบับประชาชน)    กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- ถาม-ตอบ รอบรู้ AEC 360 ° กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน      กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- การสร้าง AEC  สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
- ประเทศไทยกับอาเซียน      กรมประชาสัมพันธ์
- AEC Fact Book (ยุทธศาสตร์ AEC)      กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
คู่มือการค้าการลงทุนในประเทศต่างๆในอาเซียนทั้ง 8 ประเทศ จากกรมส่งเสริมการส่งออก
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศพม่า
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศกัมพูชา
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศอินโดนีเซีย
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศลาว
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศมาเลเซีย
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศฟิลิปปินส์
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศสิงคโปร์
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศเวียดนาม
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศอินเดีย


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/download-aec#ixzz27vMepxYQ

อาเซียน


ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

Asean Economic Community-AEC
Asean Economic Community History
AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน
จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค.  2546  ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ
1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)
คำขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม
เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558
ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่  ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน
สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า
ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

Asean-AEC-flag
ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้


1.บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ข้อควรรู้
- ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ มีระยะเวลาอยู่ในบรูไนฯได้ 2 สัปดาห์
- ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลืองเพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
- การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
- การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
-จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
-สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง



2.กัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
ข้อควรรู้
- เมื่อเดินทางถึงท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ โดยกรอกแบบฟอร์ม Visa on Arrival พร้อมยื่นรูปถ่ายและค่าธรรมเนียม 20 ดอลลาร์สหรัฐ
- ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



3.อินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ข้อควรรู้
- ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ หรือรับประทานอาหารคนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
- ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
- การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
- บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



4.ลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
ข้อควรรู้
-ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
-ลาวขับรถทางขวา
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



5.มาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
ข้อควรรู้
-ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
-มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



6.พม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
ข้อควรรู้
-
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



7.ฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ข้อควรรู้
-การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



8.สิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ข้อควรรู้
- หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
-การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
-การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



9.เวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
ข้อควรรู้
- หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
- เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
- หากนำเงินตราต่างประเทศติดตัวเข้ามามากกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องแจ้งให้ศุลกากรเวียดนามทราบการนำเงินตราออกประเทศมากกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งชาติหรือธนาคารกลางในท้องถิ่นก่อน มิเช่นนั้นจะถูกยึดเงิน
- บทลงโทษของเวียดนามในคดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข้อควรรู้


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/what-national-in-aec#ixzz27vLgrkYa

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN CHARTER) หรือธรรมนูญอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้
ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน ครั้งที่ 13เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอาเซียนที่กำลังจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป

วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน
วัตถุประสงค์อของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิกาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization)
โครงสร้างและสาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน
กฏบัตรอาเชียน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 หมวด 55 ข้อ ได้แก่
หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน
หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฏหมายของอาเชียน
หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่
หมวดที่ 4 โครงสร้างองค์กรของอาเซียน
หมวดที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน
หมวดที่ 6 การคุ้มกันและเอกสิทธิ์
หมวดที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ
หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท
หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน
หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน
หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน
หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก
หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรม และผลักดันอาเซียนให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร มีข้อกำหนดใหม่ๆ ที่ช่วยปรับปรุงโครงสร้างการทำงานและกลไกต่างๆ ของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มความยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหา เช่น
1. กำหนดให้เพิ่มการประชุมสุดยอดอาเซียนจากเดิมปีละ 1 ครั้ง เป็นปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ผู้นำมีโอกาสหารือกันมากขึ้น พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงทางการเมืองที่จะผลักดันอาเซียนไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมในอนาคต
2. มีการตั้งคณะมนตรีประจำประชาคมอาเซียนตามเสาหลักทั้ง 3 ด้าน คือ การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
3. กำหนดให้ประเทศสมาชิกแต่งตั้งเอกอัคราชฑูตประจำอาเซียนไปประจำที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งไม่เพียงแต่จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจแนวแน่ของอาเซียนที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมประชุมและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก
4. หากประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้โดยหลักฉันทามติ ให้ใช้การตัดสินใจรูปแบบอื่นๆ ได้ตามที่ผู้นำกำหนด
5. เพิ่มความยืดหยุ่นในการตีความหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยมีข้อกำหนดว่าหากเกิดปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ส่วนร่วมของอาเซียน หรือเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเทศสมาชิกต้องหารือกันเพื่อแก้ปัญหา และกำหนดให้ประธานอาเซียนเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

กฎบัตรอาเซียนจะเสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมได้อย่างไร
กฎบัตรอาเซียนสร้างกลไกตรวจสอบและติดตามการดำเนินการตามความตกลงต่างๆ ของประเทศสมาชิกในหลากหลายรูปแบบ เช่น
1. ให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนดูแลการปฏิบัติตามพันธกรณีและคำตัดสินขององค์กรระงับข้อพิพาท
2. หากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิกสามารถใช้กลไกและขั้นตอนระงับข้อพิพาททั้งที่มีอยู่แล้ว และที่จะตั้งขึ้นใหม่เพื่อแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยสันติวิธี
3. หากมีการละเมิดพันธกรณีในกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง ผู้นำอาเซียนสามารถกำหนดมาตรการใดๆ ที่เหมาะสมว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีกฎบัตรอาเซียนช่วยให้อาเซียนเป็นประชาคมเพื่อประชาชนได้อย่างไรข้อบทต่างๆ ในกฎบัตรอาเซียนแสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังผลักดันองค์กรให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง จึงกำหนดให้การลดความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนาเป็นเป้าหมายหนึ่งของอาเซียนกฎบัตรอาเซียนเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในอาเซียนผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ของอาเซียนมากขึ้น ทั้งยังกำหนดให้มีความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐสภาของประเทศสมาชิกกำหนดให้มีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

ความสำคัญของกฎบัตรอาเซียนต่อประเทศไทย
กฎบัตรอาเซียน ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ ของประเทศสมาชิก ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมหลักประกันให้กับไทยว่า จะสามารถได้รับผลประโยชน์ตามที่ตกลงกันไว้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย นอกจากนี้ การปรับปรุงการดำเนินงานและโครงสร้างองค์กรของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการเสริมสร้างความร่วมมือในทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะเป็นฐานสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อความต้องการและผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก รวมทั้งยกสถานะและอำนาจต่อรอง และภาพลักษณ์ของประเทศสมาชิกในเวทีระหว่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเอื้อให้ไทยสามารถผลักดันและได้รับผลประโยชน์ด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น
- อาเซียนขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 60 ล้านคน เป็นประชาชนอาเซียนกว่า 550 ล้านคน ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย
นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นทั้งแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย และไทยได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่มีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งของประชาคม ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และบุคคล ระหว่างประเทศสมาชิกที่สะดวกขึ้น
- อาเซียนช่วยส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อเผชิญกับภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง เช่น SARs ไข้หวัดนก การค้ามนุษย์ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หมอกควัน ยาเสพติดปัญหาโลกร้อน และปัญหาความยากจน เป็นต้น
- อาเซียนจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของไทยในเวทีโลก และเป็นเวทีที่ไทยสามารถใช้ในการผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาของเพื่อนบ้านที่กระทบมาถึงไทยด้วย เช่น ปัญหาพม่า ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์พหุภาคีในกรอบอาเซียนจะเกื้อหนุนความสัมพันธ์ของไทยในกรอบทวิภาคี เช่น ความร่วมมือกับมาเลเซียในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ด้วย


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/asean-charter#ixzz27vMDg4VD

คู่มือ AEC จากภาครัฐ

- ถนนสู่ AEC เพื่อ SMEs ไทย      สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ฉบับเกษตรกร)    กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ฉบับประชาชน)    กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- ถาม-ตอบ รอบรู้ AEC 360 ° กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน      กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- การสร้าง AEC  สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
- ประเทศไทยกับอาเซียน      กรมประชาสัมพันธ์
- AEC Fact Book (ยุทธศาสตร์ AEC)      กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
คู่มือการค้าการลงทุนในประเทศต่างๆในอาเซียนทั้ง 8 ประเทศ จากกรมส่งเสริมการส่งออก
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศพม่า
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศกัมพูชา
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศอินโดนีเซีย
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศลาว
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศมาเลเซีย
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศฟิลิปปินส์
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศสิงคโปร์
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศเวียดนาม
- คู่มือการค้าการลงทุนประเทศอินเดีย


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/download-aec#ixzz27vMepxYQ